วันเสาร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2563

ปัญหาการศึกษาที่ไทยยังคงพบอยู่ในปัจจุบัน




ปัญหาการศึกษาที่ไทยยังคงพบอยู่ในปัจจุบัน
                                โดย นางสาวสุรสา ชั้นดี

         ภาษาไทยเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ เป็นสมบัติทางวัฒนธรรมอันก่อให้เกิดความเป็นเอกภาพ และเสริมสร้างบุคลิกภาพของคนในชาติให้มีความเป็นไทย นอกจากนี้ยังเป็นสื่อที่แสดงถึงภูมิปัญญาของบรรพบุรุษด้านวัฒนธรรม ประเพณี ชีวทัศน์ โลกทัศน์ และสุนทรียภาพ โดยบันทึกไว้เป็นวรรณคดีและวรรณกรรมอันล้ำค่า (สุธะนะ พามนตรี, ๒๕๖๒)

         อีกทั้งภาษาไทยยังได้รับการยกย่องว่าเป็นภาษาประจำชาติมายาวนานกว่า ๗๐๐ ปี ภาษาไทยถือว่ามีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น เนื่องจากประกอบไปด้วยพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ที่ทำให้ภาษาไทยนั้นมีเสียงสูงต่ำ ดังนั้นภาษาไทยจึงเปรียบเสมือนเสียงดนตรีที่ทำให้เกิดความไพเราะน่าฟัง (ทวีศักดิ์ อุ่นจิตติกุล, ๒๕๕๘ ; สุรสา ชั้นดี)

          แม้ไทยเรานั้นจะมีภาษาประจำชาติ แต่น่าเสียดายที่การศึกภาของไทยนั้นยังมีศักยภาพที่ยังไม่ดีพอ ปัญหาเด็กไทยอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ยังคงมีให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน ปัญหานี้ส่งผลกระทบต่อผลสัมฤทธิ์ด้านการศึกษาเป็นอย่างมาก ทำให้การศึกษาของไทยตกต่ำลง เห็นได้จากคำแนน O-NET ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ และ ๖ รวมทั้งการจัดอันดับการศึกษาของแต่ละประเทศที่ไทยตกอยู่รั้งท้าย (ทวีศักดิ์ อุ่นจิตติกุล, ๒๕๕๘ ; สุรสา ชั้นดี)

          ดังนั้นก้าวแรกของการปฏิรูปการศึกษาของไทย จึงต้องเน้นหนักไปที่การสอนภาษาไทยให้นักเรียนมีทักษะขั้นพื้นฐานในเรื่องการอ่านออกเขียนได้ ครูควรใส่ใจนักเรียนทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ไม่ควรทิ้งเด็กคนใดไว้ข้างหลัง สถาบันครอบครัวก็ควรให้เวลาและสอนลูกในเรื่องการอ่านการเขียนร่วมด้วย อาจเริ่มจากเรื่องที่ลูกสนใจก่อนจากนั้นก็ค่อยเพิ่มระดับต่อไป อีกทั้งภาษาไทยยังเปรียบเสมือนกุญแจที่ใช้สำหรับการไขวิชาความรู้จากศาสตร์ในทุกแขนง ไม่ว่าจะเป็นวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ สังคมศาสตร์ เป็นต้น และยังส่งเสริมนิสัยรักการอ่านให้เด็กเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย (สุรสา ชั้นดี, ๒๕๖๓)

บรรณานุกรม


ทวีศักดิ์ อุ่นจิตติกุล. ๒๕๕๘. คุณค่าภาษาไทย. เข้าถึงได้จาก : https://www.dailynews.co.th/article/337165 [๒๔๖๓, มีนาคม ๒๗]

สุธะนะ พามนตรี. ๒๕๖๒. ความสำคัญของภาษาไทย. เข้าถึงได้จาก https://www.classstart.org/classes/4131 [๒๕๖๓มีนาคม ๒๗]

วันศุกร์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2563

รูปแบบของการนําเสนอข้อมูลด้วยวาจา


รูปแบบของการนําเสนอข้อมูลด้วยวาจา

         การนําเสนอข้อมูล เป็นการสื่อสารที่มีความ แตกต่างกันในแนวทางปฏิบัติ รูปแบบของการ นําเสนอแบ่งตามลักษณะ ขนาด และจํานวนของ ผู้ฟัง ดังนี้ 

      ๑. การนําเสนอเฉพาะกลุ่ม เป็นการนําเสนอข้อมูลต่าง ๆ ต่อผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องหรือผู้ที่ได้ รับเชิญให้เข้าร่วมรับทราบข้อมูลในการนําเสนอ

      ๒. การนําเสนอในที่ประชุมชน เป็นการนําเสนอข้อมูลต่าง ๆ ที่มีผู้เข้ารับฟังเป็น    จํานวนมากอาจมี บุคคลทั่วไปเข้าร่วมฟังการนําเสนอได้และเปิดโอกาสให้ผู้ฟังได้ซักถามเพิ่มเติมได้อีกด้วย เช่น การฟัง อภิปราย การบรรยายความรู้ เป็นต้น

ลักษณะที่ดีของการนําเสนอข้อมูลด้วยวาจา 

        การนําเสนอที่ดีจะทําให้ผู้รับการนําเสนอมีความพึงพอใจ ชื่นชม และเกิดการยอมรับ ยกย่องให้เกียรติสําหรับผู้นําเสนอ จึงจะถือได้ว่าการนําเสนอได้รับผลสําเร็จตามวัตถุประสงค์ โดยทั่วไปลักษณะของการ นําเสนอข้อมูลที่ดีควรมีลักษณะ ดังนี้

      ๑. มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน กล่าวคือ มีความแน่ชัดว่าเป็นการนําเสนอเพื่ออะไร ถ้าเป็นการนําเสนอ เพื่อพิจารณา ผู้รับการนําเสนอจะทราบได้โดยทันทีว่าจะต้องพิจารณาสิ่งใด หากเป็นการนําเสนอเพื่อ ขออนุมัติ ผู้บังคับบัญชาจะทราบได้โดยไม่ต้องซักถามว่าเป็นเรื่องใด

      ๒. มีรูปแบบการนําเสนอเหมาะสม กล่าวคือ มีความเหมาะสมกับเรื่องและสถานการณ์ที่จะนําเสนอ การเรียบเรียงเชิงภาษาต้องกะทัดรัดได้ใจความ ลําดับความได้ดี ใช้ภาษาเข้าใจง่าย มีการใช้อุปกรณ์ประกอบ เช่น ตาราง แผนภูมิ แผ่นภาพ ตามความเหมาะสมเพื่อช่วยให้ผู้รับการนําเสนอพิจารณาข้อมูลได้โดยสะดวก

      ๓. มีเนื้อหาสาระดี กล่าวคือ สาระที่นําเสนอ มาทั้งหมดจะต้องมีความเที่ยงตรง ทันสมัย ถูกต้อง ครบถ้วนสมบูรณ์ตรงตามความต้องการ มีเนื้อหา ข้อมูลเพียงพอแก่การนํามาพิจารณา เป็นที่น่าเชื่อถือ และเป็นประโยชน์แก่ทุกฝ่าย

      ๔. มีข้อเสนอที่ดี กล่าวคือ เมื่อพิจารณาดูแล้ว จะเห็นได้ชัดว่าเป็นข้อเสนอที่สมเหตุสมผล ยิ่งมีการ พิจารณาเปรียบเทียบก็จะพบว่าข้อเสนอเป็นทาง เลือกที่เห็นได้ชัดเจนในข้อสรุปและข้อเสนอแนะ แนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน เช่นนี้จึงจัดได้ว่าเป็นข้อมูลการนําเสนอที่ดีจะทําให้ผู้รับการนําเสนอที่ดี

การเตรียมการนําเสนอข้อมูลด้วยวาจา

        การนําเสนอข้อมูลจะส่งผลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อภาพลักษณ์ของบุค จัดการนําเสนอนั้น ๆ ได้ ฉะนั้น จะต้องปฏิบัติตามขั้นตอน โดยพิจารณาเบา บ้าง โดยอาศัยหลักการ ดังนี้

      ๑. การกําหนดจุดมุ่งหมายของการนําเสนอ ควรตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักการ

- ต้องมีจุดมุ่งหมายที่มีความเป็นไปได้

- ต้องคํานึงถึงผู้รับการนําเสนอเป็นหลัก

- ต้องมีจุดมุ่งหมายไม่มากเกินไปจนทําให้หลากหลายหรือคลุมเครือ

- ต้องก่อประโยชน์ทั้งต่อฝ่ายผู้นําเสนอและผู้รับการนําเสนอ

- ต้องกําหนดจุดมุ่งหมายให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เป็นอยู่

      ๒. การกำหนดโครงร่างในการนำเสนอ โครงร่างในการนำเสนอเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้การนำเสนอมีความชัดเจนสมบูรณ์ครบถ้วนตามเนื้อหาของการนำเสนอจึงควรกำหนดโครงร่างตามหลักการ ดังนี้

          ๑) กำหนดสัดส่วนของเนื้อหา ควรกำหนดสัดส่วนคิดเป็นร้อยละขององค์ประกอบในการนำเสนอ ดังนี้

- นำ (Introduction) ๑๐%
- ส่วนหน้า(Body) ๘๐%
- ส่วนสรุป(Conclusion) ๑๐%

          ๒) กําหนดลําดับเรื่องตามโครงร่างของการนําเสนอ

- เรียงตามลําดับเวลาหรือเหตุการณ์
- เรียงตามกระบวนการและขั้นตอน
- เรียงตามประเด็นกลุ่มใหญ่ตามด้วยกลุ่มย่อย

          ๓) กําหนดสาระของเนื้อหาในการนําเสนอ 

- ส่วนนำ ต้องมีการเกริ่นนําให้น่าสนใจหรือเร้าความสนใจผู้ฟัง
- ส่วนเนื้อหา ต้องกลมกลืนสอดคล้องกับส่วนนําที่เปิดเรื่องไว้
- ส่วนสรุป ต้องก่อให้เกิดความประทับใจหรือจับใจผู้ฟัง

      ๓. การจัดทําโครงร่างการนําเสนอ การจัดทําโครงร่างการนําเสนอจะต้องคํานึงถึงหลักการและวัตถุประสงค์เฉพาะของการนําเสนอแต่ละรูปแบบ 

      ๔. การเตรียมข้อมูลเนื้อหาที่จะนําเสนอการจัดเตรียมข้อมูลเนื้อหาที่จะนําเสนอ ควรมีรายละเอียดที่ครบถ้วน คําถามหรือข้อสงสัยใด ๆ ฉะนั้น จึงควรกําหนดกรอบของเนื้อหา ดังนี้
- ควรกล่าวนําหรือที่เรียกว่า อารัมภบท เกริ่นให้รู้ว่าผู้นําเสนอเป็นใคร และนำเสนอในนามของหน่วยงานใด
- ควรบอกชื่อเรื่องทําน้ําเสนอ พร้อมด้วยวัตถุประสงค์ บอกระยะเวลาที่จะใช้ในการนำเสนอ
- ควรกล่าวถึงความเป็นมาของเรื่อง ให้รู้ว่าความเดิมก่อนที่จะนําเสนอว่ามีประวัติอย่างไร
- ควรเห็นสภาพปัญหา สาเหตุของปัญหาและตัวแปรที่สัมพันธ์เกี่ยวข้อง เช่น กฎระเบียบข้อกําหนดต่าง ๆ ข้อกฎหมาย เป็นต้น

- ควรชี้ให้เห็นทางเลือกในการแก้ปัญหา พร้อมทั้งมีการประเมินข้อดีและข้อเสียด้วย
- ควรให้ข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหาและควรเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด
- ควรมีบทสรุปทั้งข้อเท็จจริงและข้อโต้แย้ง ที่สําคัญถ้าเป็นการนําเสนอเพื่อขออนุมัติ จะต้อง นําเสนอถึงขั้นตอนการดําเนินงานต่อไป หากได้รับการอนุมัติ

      ๕. การกําหนดลําดับข้อมูลในการนําเสนอการจัดลําดับข้อมูลในการนําเสนอต้องมีความสอดคล้องต่อเนื่องกันไป เพื่อความสมบูรณ์ของ เนื้อหาในการนําเสนอ ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างสําหรับใช้ในการลําดับข้อมูลในการนําเสนอ กับบางสถานการณ์ที่ นักศึกษาควรทราบ ดังนี้

          ๑) การนําเสนอเพื่อรายงานการวิจัย

- ทักทายผู้ฟังและแนะนําตัว


- แนะนําชื่อผลงานวิจัย

- ลักษณะความเป็นมาของปัญหา

- ข้อสมมติฐานหรือสาเหตุของปัญหา

- วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล

- วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลและการแปลความหมาย

- สรุปสาระสําคัญที่ค้นพบ

- การอภิปรายผล

- ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการประยุกต์ใช้
       
          ๒) การนําเสนอเพื่อรายงานผลการดําเนินงาน
       
- ทักทายผู้ฟังและแนะนำตัวหรือหน่วยงาน

- แนะนําชื่อโครงงานหรือโครงการ

- บอกวัตถุประสงค์

- บอกอุปสรรคและ ปัญหาที่พบ

- สรุปความสําคัญของข้อมูลที่องต่อเป้าหมายขององค์กร


          ๓) การนําเสนอแนวทางแก้ปัญหา

- ทักทายผู้ฟังและแนะนำตัว

- บอกวัตถุประสงค์

- บอกแนวโน้มที่จะเกิดปัญหาในอนาคต

- ชี้ให้เห็นปัจจัยที่อาจจะทําให้เกิดปัญหา

- บอกสาเหตุที่ทําให้เกิดปัญหา

- แนะแนวทาง/ วิธีการลดปัญหา

- สรุปแผนการดําเนินการและกําหนดเวลา

          ๔) การบรรยายสรุปหน่วยงาน

- ทักทายผู้ฟัง แนะนําตัวหรือหน่วยงาน

- บอกความเป็นมาของหน่วยงาน

- บรรยายภารกิจที่ได้รับมอบหมาย

- ชี้แผนงาน/โครงการที่ปฏิบัติ

- บอกความสําเร็จและปัจจัยแห่งความสําเร็จ

- สรุปปัญหา/อุปสรรคและการแก้ไข

- วางแผนงานในอนาคต

          ๕) การนําเสนอขายสินค้า

- แนะนําชื่อสินค้า

- บอกวัตถุประสงค์

- วิเคราะห์ความต้องการของผู้ฟัง

- บอกความน่าสนใจในสิ่งที่เสนอขาย

- ชี้ให้ผู้ฟังเห็นประโยชน์ที่จะได้รับ

- บอกขั้นตอนต่อไปในการดําเนินการ

          ๖) กําหนดเทคนิคและเตรียมโสตทัศนูปกรณ์

              การใช้สื่อโสตทัศนูปกรณ์ประกอบการนําเสนอมีประโยชน์อย่างยิ่ง ผู้นําเสนอควรเลือกพิจารณา ใช้สื่อให้เหมาะกับสถานการณ์ในการนําเสนอ โดยอาศัยหลักการ ดังนี้

- เลือกประเภทของสื่อให้ตรงและเหมาะสมกับเรื่องที่นําเสนอ

- สื่อที่มีข้อความควรเลือกเฉพาะข้อความที่สื่อความหมายได้ง่ายในประเด็นหลัก

- ไม่ควรใช้สื่อแทนการนําเสนอ แต่ใช้ในลักษณะของการสนับสนุนการนําเสนอ

- ใช้สื่อควรมีการจัดเตรียมให้พร้อมและฝึกซ้อมการใช้ให้คล่องแคล่ว ประโยชน์ของการใช้สื่อในการนําเสนอ มีดังนี้

- ช่วยประหยัดเวลาในการอธิบาย

- ช่วยทําให้ผู้ฟังติดตามการนําเสนอได้พร้อมกัน
       
- ช่วยให้ผู้ฟังเข้าใจและเห็นภาพพจน์ของเรื่องราวได้ชัดเจนขึ้น


          ๗) การฝึกซ้อมการนําเสนอ

               การฝึกซ้อมการนําเสนอเป็นหนึ่งในขั้นตอนของการเตรียมการนําเสนอที่มีความสําคัญ ข้อควร ปฏิบัติของการฝึกซ้อม มีดังนี้

- ควรฝึกซ้อมโดยการพูดออกเสียงดัง ๆ ฝึกซ้อมการนําเสนอหน้ากระจกหรือต่อหน้าผู้อื่นเช่น ครอบครัว เพื่อน และผู้ร่วมงาน

- ควรใช้นาฬิกาช่วยจับเวลา โดยเฉพาะในกรณีที่การนําเสนอมีช่วงเวลาสั้นมาก ๆ เช่น ให้เวลานําเสนอเพียงห้านาทีเท่านั้น

- ควรจําเนื้อหาการนําเสนอให้ได้ จะได้ไม่ต้องกังวลที่จะมองดูหรืออ่านเนื้อหาในกระดานบันทึกเป็นระยะ ๆ ทําให้ขาดความมั่นใจเวลานําเสนอต่อหน้าผู้ฟัง

- ควรบันทึกภาพหรือเสียงของตนเองในขณะฝึกซ้อมไว้ วิธีนี้จะช่วยให้ทราบข้อบกพร่องแก หาวิธีการปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้การนําเสนอมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น


ข้อดีของการฝึกซ้อมการนําเสนอ มีดังนี้
- ทําให้เกิดความมั่นใจในการนําเสนอมากยิ่งขึ้น
- ทําให้มีโอกาสได้แก้ไขข้อผิดพลาดที่พบได้ในระหว่างฝึกซ้อม
- ทําให้การนําเสนอมีความสมบูรณ์ไม่หลงลืมประเด็นสําคัญ
- ทําให้ใช้อุปกรณ์ในการนําเสนอได้ถูกต้องตามลําดับขั้นตอน
- ทำให้การนําเสนอมีโอกาสประสบความสําเร็จตามวัตถุประสงค์

การใช้ภาษาในการนําเสนอข้อมูล ควรมีลักษณะดังนี้

- ควรเป็นภาษาที่เข้าใจง่าย

- มีลักษณะเป็นภาษาพูดมากกว่าการอ่าน

- ควรใช้ภาษาที่เป็นแบบแผนในการนําเสนอ

- พูดอย่างเป็นธรรมชาติ มีชีวิตชีวา

- ใช้ถ้อยคําที่สุภาพอันแสดงให้เห็นถึงความมีมารยาท

- พยายามใช้ถ้อยคําเชื่อมโยงจากตอนหนึ่งไปสู่อีกตอนหนึ่งให้สอดคล้องกลมกลืน



บรรณานุกรม

ระพีพัฒน์ ทองจิตต์. ๒๕๕๙. การนำเสนอสารภาษาไทย. เข้าถึงได้จาก http://namsanersan.blogspot.com/ [๒๕๖๓, มีนาคม ๒๕]

ศุภรัตน์ เทพบุรี. ๒๕๖๑. การนำเสนอข้อมูลด้วยวาจา. เข้าถึงได้จาก https://bit.ly/3bxr9U4 [๒๕๖๓, มีนาคม ๒๖]

หลักการเขียนบทความเพื่อเผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ต


หลักการเขียนบทความเพื่อเผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ต

        สถานภาพการรับรู้ข่าวสารและการสื่อสารของประชาคมโลกมีศักยภาพสูงขึ้นจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการสื่อสารในสังคมสมัยใหม่การเลือกรับข่าวสารต่าง ๆ มีความหลากหลายในเวลาเดียวกันอินเทอร์เน็ต กลายเป็นแหล่งข้อมูลข่าวสารของประชาชนทุกเพศทุกวัยและในทุกระดับกล่าวได้ว่าในปัจจุบันไม่มีใครที่ไม่รู้จักอินเทอร์เน็ต สื่อสมัยใหม่ตัวนี้มีบทบาทอย่างมากในการสื่อสาร ดังจะเห็นได้จากการใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อเผยแพร่ข่าวสารต่าง ๆ การสืบค้นเรื่องราวความรู้ในเรื่องต่างๆแทบทุกเรื่องทำได้อย่างรวดเร็วจนได้รับสมญานามว่า ห้องสมุดที่ใหญ่ที่สุดในโลก
       ลักษณะข้อมูลข่าวสารทางอินเทอร์เน็ต มีลักษณะเป็นสื่อผสมผสานที่ประกอบด้วย ข้อความ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว และภาพจากวิดีทัศน์ หรือวิดีโอ คลิป ที่ขาดไม่ได้คือเสียงองค์ประกอบที่ทำให้เกิดชีวิตชีวาด้วยภาวะข้อมูลข่าวสารที่มีมากมายและความเปลี่ยนแปลงของสังคมในทุกด้าน บทความจึงมีหน้าที่เป็นช่องทางหนึ่งในการแสดงความคิดเห็นให้ความรู้ ชี้แนะ และอธิบาย บทความคือข้อเขียนประเภทหนึ่งที่ถ่ายทอดเรื่องราวที่เป็นข้อเท็จจริงบวกกับข้อคิดเห็นและเหตุผลที่เชื่อถือได้ของผู้เขียนต่อเหตุการณ์หรือสถานการณ์หนึ่งๆด้วยสำนวนภาษาที่แตกต่างกันขึ้นกับวัตถุประสงค์ของบทความแต่ละประเภทลักษณะเนื้อหาของบทความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์หรือเรื่องที่มีผลกระทบต่อสังคมหรือเป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจของผู้อ่าน


วัตถุประสงค์ของการเขียนบทความ

การเขียนบทความเพื่อเผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ตมีวัตถุประสงค์คล้ายคลึงกับบทความที่พบเห็นในหนังสือพิมพ์และนิตยสาร ดังนี้
      ๑. เพื่ออธิบาย มีลักษณะเป็นการให้ข้อมูล ให้ภูมิหลัง และข้อเท็จจริงอย่างละเอียด เพื่ออธิบายให้ผู้อ่านเข้าใจง่าย ในเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่ซับซ้อน โดยใช้ภาษาที่ผู้อ่านทั่วไปเข้าใจได้

      ๒. เพื่อรายงานหรือกระตุ้นความสนใจ มีลักษณะคล้ายๆ กับการเขียนเพื่ออธิบายหรือวิเคราะห์ซึ่งพิจารณาเห็นว่าเป็นเรื่องที่ผู้อ่านควรรู้ และเป็นการรายงาน บอกเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้น

      ๓. เพื่อให้ความรู้ การแสดงความคิดเห็นของบทความนี้คือการให้ความรู้ทั้งทางตรงและทางอ้อม ในหลายระดับตั้งแต่เกร็ดความรู้เล็ก ๆ จนถึงความรู้ทางวิชาการ

      ๔. เพื่อเสนอแนวทางแก้ไข เป็นบทความที่ผู้เขียนมุ่งอธิบายถึงข้อเท็จจริงที่มาของปัญหาตลอดจนผลกระทบที่เกิดขึ้นพร้อมกับเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหา ซึ่งอาจมีมากกว่าหนึ่งทางก็ได้

      ๕. เพื่อโน้มน้าวใจ เป็นบทความที่ผู้เขียนต้องการโน้มน้าวให้เกิดการคล้อยตามความคิดเห็นในเรื่องที่กำลังนำเสนอส่วนมากมักเป็นประเด็นเพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือโครงการรณรงค์ต่าง ๆ เช่น สร้างความเป็นไทยส่งเสริมให้ใช้ของไทยประหยัดการใช้พลังงาน เป็นต้น

      ๖. เพื่อวิเคราะห์หรือวิจารณ์ การวิเคราะห์เป็นการนำเสนอข้อเท็จจริงหรือประเด็นปัญหา ตามหลักวิชาการ ชี้ให้เห็นข้อดีและข้อเสีย และผลกระทบ โดยอ้างเหตุผลที่น่าเชื่อถือประกอบการวิเคราะห์อย่างรอบด้านและในส่วนการวิจารณ์จะเน้นในความคิดเห็นของผู้เขียนเป็นหลัก ซึ่งมาจากความรู้และประสบการณ์ที่มีโดยมองปัญหารอบด้านในทุกมิติเพื่อให้ได้ความคิดเห็นที่เที่ยงตรง

      ๗. เพื่อความเพลิดเพลิน เป็นการนำเสนอเรื่องเบา ๆ ที่ผ่อนคลาย เพื่อสร้างอารมณ์ขันด้วยลีลาภาษาที่ไม่เป็นทางการเกินไป

ประเภทบทความ
บทความที่เผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ต แบ่งออกได้เป็น ๔ ประเภท ดังนี้
      ๑. บทความแนะนำวิธีปฏิบัติ เป็นบทความที่มุ่งให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการ ขั้นตอนการปฏิบัติ และคำแนะนำเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรืออธิบายวิธีการ กระบวนการในการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เป็นประโยชน์กับกลุ่มเป้าหมายในการดำเนินชีวิต บทความประเภทนี้ เช่น วิธีการประหยัดไฟ การดำเนินชีวิตในยุคข้าวยากหมากแพง วิธีการประกอบคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

      ๒. บทความแสดงความคิดเห็นทั่วไป เป็นบทความที่มุ่งแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องใดเรื่องที่น่าสนใจทั้งประเด็นทางสังคม เศรษฐกิจ หรือเป็นเรื่องที่ควรรู้ กำลังอยู่ในกระแสความสนใจ โดยเสนอข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสิ่งนั้นในแง่มุมต่าง ๆ และแสดงความคิดเห็น บทความประเภทนี้อาจเสนอแนวคิดใหม่ๆ ที่น่าสนใจที่แตกต่างจากเดิมก็ได้ ความคิดเห็นที่เสนอในบทความนี้จะหนักเบาขึ้นกับวัตถุประสงค์ในการเขียนและประเด็นเรื่องที่นำเสนอ ซึ่งอาจมีตั้งแต่เรื่องการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การศึกษา สิ่งแวดล้อม สุขภาพ จนถึงเรื่องอื่น ๆ ทั่วไป บทความแสดงความคิดเห็นที่เผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ตมักจะเชิญชวนให้ผู้ใช้แสดงความคิดเห็นได้ด้วย เป็นการสื่อสารแบบสองทาง

      ๓. บทความเชิงวิชาการ เป็นบทความที่มุ่งถ่ายทอดความรู้ ความคิด หรือความคิดเห็นทางวิชาการเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยนำเสนอข้อมูลที่เที่ยงตรง น่าเชื่อถือ การเขียนบทความประเภทนี้จำเป็นต้องมีการค้นคว้าข้อมูลจากเอกสาร หรือจากบุคคลที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านนั้น ๆ และความคิดเห็นที่นำเสนอต้องอ้างเหตุผลตามหลักวิชาการมารองรับ มีการอ้างอิงหลักฐานหรือผลงานวิจัยประกอบการอธิบาย

      ๔. บทความวิเคราะห์ เป็นบทความที่มุ่งวิเคราะห์เหตุการณ์ สถานการณ์ที่กำลังเป็นที่สนใจที่มีผลกระทบต่อคนในสังคมโดยการให้ ภูมิหลัง เหตุผล ชี้ประเด็น แสดงความคิดเห็น บทความวิเคราะห์เป็นความคิดเห็นของบุคคลคนเดียว ซึ่งถ้ามีความรู้และเชี่ยวชาญในเรื่องที่เขียนจะได้รับความเชื่อถือหลักการเขียนบทความ

       บทความที่ดีต้องประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน นั่นคือสาระเนื้อหา ความคิดและภาษา โครงสร้างการเขียนจึงเปรียบเหมือนกรอบที่ผู้เขียนกำหนดเนื้อหา แนวคิดที่น่าสนใจด้วยสำนวนภาษาที่ดีและเหมาะสมเพื่อให้ได้บทความแต่ละประเภทตามต้องการ โครงสร้างการเขียนบทความประกอบด้วย ชื่อเรื่อง ความนำ เนื้อเรื่อง และบทสรุป แต่ละส่วนมีบทบาทหน้าที่ตามวัตถุประสงค์ของการเขียนดังนี้

      ๑. ชื่อเรื่อง มีบทบาทในการดึงดูดความสนใจของผู้อ่านให้สนใจอยากอ่านบทความ จึงเป็นข้อเขียนที่สื่อสารให้ผู้อ่านทราบว่าเรื่องที่จะเขียนเป็นเรื่องอะไร การตั้งชื่อเรื่องที่ดีต้องบอกใจความสำคัญ ประเด็นหลักของเรื่อง เพื่อให้สามารถดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน จึงควรสั้นกระชับ ได้ใจความ จดจำได้ง่าย กระตุ้นความสนใจและการมีส่วนร่วมของผู้อ่าน ชื่อเรื่องที่ดีต้องสนองวัตถุประสงค์ของการเขียน สะท้อนประเด็นปัญหาที่นำเสนอ นอกจากนี้เทคนิคการนำเสนอก็จะมีส่วนช่วยในการทำให้ชื่อเรื่องดูสะดุดตาอีกด้วย การตั้งชื่อเรื่อง มีหลายลักษณะ เช่น
- ชื่อเรื่องแบบสรุปเนื้อหา เป็นชื่อเรื่องที่บอกถึงเนื้อหาของบทความว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร
- ชื่อเรื่องแบบคำถาม เป็นชื่อเรื่องที่เป็นคำถาม เพื่อกระตุ้นให้คนอยากรู้
- ชื่อเรื่องแบบคำพูด เป็นชื่อเรื่องที่เป็นคำพูดซึ่งเป็นประเด็นหลักของเรื่องที่จะเขียน
- ชื่อเรื่องแบบอุปมาอุปมัย เป็นชื่อเรื่องที่เป็นการเปรียบเทียบเพื่อให้เกิดความน่าสนใจ

      ๒. ความนำ มีบทบาทจูงใจความสนใจของผู้อ่านให้ติดตามเนื้อเรื่องต่อไปจนจบ ด้วยลีลาภาษาที่กระชับ ไม่เยิ่นเย่อ เสนอประเด็นหลักของเรื่อง ความนำที่ดีต้องสามารถกระตุ้นความสนใจของผู้อ่านให้อยากอ่านบทความต่อไป ว่าเรื่องต่อไปจะเป็นอะไรมีความสำคัญและน่าสนใจตรงไหน นอกจากนี้ยังอาจบอกถึงประเด็นเรื่องที่จะเสนอในเนื้อหาด้วย ความนำของบทความต้องสื่อความคิดของผู้เขียนทันทีเพื่อดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน การเขียนความนำมีหลายแบบ เช่น แบบพรรณนา แบบบรรยาย แบบคำถาม แบบเปรียบเทียบ แบบสร้างความสงสัย

      ๓. เนื้อเรื่อง มีบทบาทในการนำเสนอประเด็นเรื่องอย่างละเอียดโดยใช้เทคนิคที่ชวนให้ติดตาม เนื้อเรื่องมาจากข้อมูลที่ผ่านการค้นคว้าจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือ เนื้อเรื่องหรือประเด็นเรื่องเป็นส่วนที่สำคัญไม่น้อย ฉะนั้นการกำหนดประเด็นเรื่องที่จะเขียนควรเป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจของผู้อ่าน หรือมาจากความสนใจของผู้รับผิดชอบในการจัดทำสื่ออินเทอร์เน็ต



      ๔. บทสรุปหรือบทลงท้าย มีบทบาทในการเสริมย้ำประเด็นสำคัญ สรุปสาระสำคัญของเรื่อง สร้างความประทับใจให้ผู้อ่าน บทสรุปเป็นส่วนที่อยู่ท้ายสุดของเรื่องแต่มีความสำคัญมาก เพราะเป็นส่วนที่จะสร้างความประทับใจแก่ผู้อ่านส่วนนี้ผู้เขียนต้องเน้นย้ำ ความคิดเห็นหรือจุดยืนอย่างชัดเจน ชี้ให้เห็นประเด็นสำคัญในเชิงสรุป 

ลักษณะข้อเขียนที่เผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ต

ข้อเขียนที่ปรากฏทางอินเทอร์เน็ตมีลักษณะเฉพาะกล่าวคือเป็นข้อความที่สั้นกระชับเน้นประเด็นสำคัญของเนื้อหา ข้อเขียนทางอินเทอร์เน็ตมีลักษณะ ดังนี้

      ๑. เน้นประเด็นสำคัญที่เป็นจุดเด่นของเนื้อหา เพื่อให้ข้อความที่จะสื่อสารไม่ยาวเกินไปนักข้อเขียนที่เผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ตจะนำเสนอประเด็นที่เป็นจุดเด่นของเนื้อหาโดยตรงลักษณะข้อเขียนจึงเป็นหัวข้อเรื่องและจะอธิบายเกี่ยวกับหัวเรื่องนั้น ๆ ในสาระสำคัญเท่านั้น และจะใช้ภาพประกอบในการอธิบายเนื้อหาให้เห็นเป็นรูปธรรม ทั้งนี้เพื่อช่วยไม่ให้เกิดความเบื่อหน่ายในการอ่านข้อความยาวๆ

      ๒. มีการเชื่อมโยงเนื้อหาจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งที่เรียกว่า การลิงค์ข้อความ ทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วและอ้างอิงเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้

      ๓. มีสารบัญเนื้อหาปรากฏอยู่ทุกหน้าของจอภาพเพื่อความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลเนื่องจากการอ่านข้อความย้อนกลับไปกลับมาทำให้ไม่สะดวก การออกแบบหน้าจอจึงควรมีสารบัญเนื้อหาควบคู่ไปกับการแสดงข้อความต่าง ๆ เพื่อช่วยให้ผู้อ่านสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลได้ทันที

      ๔. ใช้สำนวนภาษาที่สั้น กระชับ เข้าใจง่าย และมีประเด็นเนื้อหาที่ชัดเจน รูปแบบสำนวนภาษาที่ใช้บนอินเทอร์เน็ตต้องกระชับ ไม่เยิ่นเย่อ แต่เข้าใจง่าย และควรหลีกเลี่ยงศัพท์เทคนิคที่เข้าใจยาก

      ๕. มีภาพหรือแผนภูมิหรือภาพเคลื่อนไหวประกอบเนื้อหาที่นำเสนอ เพื่อให้เกิดความสะดุดตา น่าติดตาม เรื่องนี้นับเป็นจุดเด่นของการสื่อสารบนอินเทอร์เน็ต เพราะสามารถสื่อความหมายได้ดี นับเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของข้อเขียนที่เผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ต

บรรณานุกรม

อมรพรรณ  ซุ้มโชคชัยกุล. ๒๕๖๓. หลักการเขียนบทความเพื่อเผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ต. เข้าถึงได้จาก : https://bit.ly/3ap8uKd [๒๕๖๓, มีนาคม ๒๗]

ปัญหาการศึกษาที่ไทยยังคงพบอยู่ในปัจจุบัน

ปัญหาการศึกษาที่ไทยยังคงพบอยู่ในปัจจุบัน                                  โดย นางสาวสุรสา ชั้นดี          ภาษาไทยเป็นเอกลักษณ์ปร...