ปัญหาการศึกษาที่ไทยยังคงพบอยู่ในปัจจุบัน
โดย
นางสาวสุรสา ชั้นดี
ภาษาไทยเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ
เป็นสมบัติทางวัฒนธรรมอันก่อให้เกิดความเป็นเอกภาพ
และเสริมสร้างบุคลิกภาพของคนในชาติให้มีความเป็นไทย นอกจากนี้ยังเป็นสื่อที่แสดงถึงภูมิปัญญาของบรรพบุรุษด้านวัฒนธรรม
ประเพณี ชีวทัศน์ โลกทัศน์ และสุนทรียภาพ โดยบันทึกไว้เป็นวรรณคดีและวรรณกรรมอันล้ำค่า
(สุธะนะ พามนตรี, ๒๕๖๒)
อีกทั้งภาษาไทยยังได้รับการยกย่องว่าเป็นภาษาประจำชาติมายาวนานกว่า
๗๐๐ ปี ภาษาไทยถือว่ามีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น เนื่องจากประกอบไปด้วยพยัญชนะ สระ
และวรรณยุกต์ที่ทำให้ภาษาไทยนั้นมีเสียงสูงต่ำ
ดังนั้นภาษาไทยจึงเปรียบเสมือนเสียงดนตรีที่ทำให้เกิดความไพเราะน่าฟัง (ทวีศักดิ์
อุ่นจิตติกุล, ๒๕๕๘ ; สุรสา ชั้นดี)
แม้ไทยเรานั้นจะมีภาษาประจำชาติ
แต่น่าเสียดายที่การศึกภาของไทยนั้นยังมีศักยภาพที่ยังไม่ดีพอ
ปัญหาเด็กไทยอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ยังคงมีให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน
ปัญหานี้ส่งผลกระทบต่อผลสัมฤทธิ์ด้านการศึกษาเป็นอย่างมาก ทำให้การศึกษาของไทยตกต่ำลง
เห็นได้จากคำแนน O-NET ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
๖ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ และ ๖
รวมทั้งการจัดอันดับการศึกษาของแต่ละประเทศที่ไทยตกอยู่รั้งท้าย (ทวีศักดิ์
อุ่นจิตติกุล, ๒๕๕๘ ; สุรสา ชั้นดี)
ดังนั้นก้าวแรกของการปฏิรูปการศึกษาของไทย
จึงต้องเน้นหนักไปที่การสอนภาษาไทยให้นักเรียนมีทักษะขั้นพื้นฐานในเรื่องการอ่านออกเขียนได้
ครูควรใส่ใจนักเรียนทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ไม่ควรทิ้งเด็กคนใดไว้ข้างหลัง
สถาบันครอบครัวก็ควรให้เวลาและสอนลูกในเรื่องการอ่านการเขียนร่วมด้วย
อาจเริ่มจากเรื่องที่ลูกสนใจก่อนจากนั้นก็ค่อยเพิ่มระดับต่อไป อีกทั้งภาษาไทยยังเปรียบเสมือนกุญแจที่ใช้สำหรับการไขวิชาความรู้จากศาสตร์ในทุกแขนง
ไม่ว่าจะเป็นวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ สังคมศาสตร์ เป็นต้น และยังส่งเสริมนิสัยรักการอ่านให้เด็กเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย (สุรสา ชั้นดี, ๒๕๖๓)
บรรณานุกรม
ทวีศักดิ์
อุ่นจิตติกุล. ๒๕๕๘. คุณค่าภาษาไทย. เข้าถึงได้จาก : https://www.dailynews.co.th/article/337165
[๒๔๖๓, มีนาคม ๒๗]
สุธะนะ พามนตรี. ๒๕๖๒. ความสำคัญของภาษาไทย. เข้าถึงได้จาก : https://www.classstart.org/classes/4131 [๒๕๖๓, มีนาคม ๒๗]
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น